วันพุธ

My tree



Biology:
ต้นไม้ของฉัน
(-การศึกษาโครงสร้างของพืช-)


ต้นไม้ของฉัน "ดาวเรือง"




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tagetes erecta  L.
ชื่อสามัญ :   African Marigold     วงศ์ :  Asteraceae
ชื่ออื่น :  คำปู้จู้หลวง ,พอทู          ถิ่นกำเนิด:  ประเทศเม็กซิโกอเมริกาใต้

ลักษณะทั่วไป:

ต้น : ไม้ดอกล้มลุก มีทั้งพันธุ์เตี้ย และ พันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม
ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรี ถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง ประมาณ 0.5-1.5 cm. ยาวประมาณ 1.5-5 cm. ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม
ดอก : มีหลายสี   เข่น  สีขาว เหลือง เหลืองทอง และส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น  โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่เป็นรูปไข่กลับ ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักเป็น 5 ซี่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 cm. มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
ฝัก/ผล : ผลแห้งไม่แตก มีสีดำ
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดปักชำยอด

การปลูก (ปลูกโดยวิธีปักชำ)

1.เตรียมดิน คือ ดิน ผสมขี้เถ้า แกลบ ใส่ในถุงเพาะชำหรือเป็นแปลงสำหรับปักชำ
2.เด็ดยอดที่มีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำมาปักชำในดินเตรียมไว้   รดน้ำ เช้า-เย็น
3.รากจะงอกใน 4-5 วัน หากคุมความชื้นได้ดี จะงอกใน 3-4 วัน ระยะนี้ให้โดนแดดอ่อนๆ
4.นำไปโดนแดดจัด อีก 4-5 วัน สามารถนำไปปลูกในแปลงใหญ่ได้ ดอกจะออกราวๆ 45 – 60วันหลังปลูก ในช่วงนี้รดน้ำตอนเช้าครั้งเดียว


  

โครงสร้างภายนอกของ ดาวเรือง


ราก : ดาวเรือง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ โดยทั่วไประบบรากจะเป็นระบบรากแก้ว ประกอบไปด้วย รากแก้ว (Primary root) ที่เจริญมาจากรากแรกเกิด และแตกแขนออกเป็นรากแขนง (Lateral root) จาก Pericycle  และรากแขนงจะแตกแขนออกเป็นรากฝอยได้อีก


ลำต้น : ประกอบด้วยปลายยอดและตามซอกกิ่งจะพบ เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)   ใบเริ่มเกิด (Leaf primordial) ซึ่งจะเจริญไปเป็นใบอ่อน (Young leaf) และกลายเป็นใบที่เจริญเต็มที่ 

 ใบ : เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ชนิดใบเป็นใบประกอบ( compound leaf )แบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรี ถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน


 

โครงสร้างภายในของ ดาวเรือง


โครงสร้างลักษณะภายในราก



 - Epidermis   :  เป็นเซลล์เดียวเรียงชิดติดกัน อยู่ชั้นนอกสุด  บางตำแหน่งมี Root hair cell- Cortex   :  ประกอบด้วย  สะสมน้ำและอาหาร 
- Endodermis เซลล์ชั้นในมีลักษณะเป็นเซลล์ Parenchyma มีสาร Suberinสะสมอยู่ ส่วนด้านเซลล์ด้านนอก มีสาร Lignin สะสมอยู่  เรียก Casperian strip แถบนี้จะทำให้ผนังเซลล์หนาขึ้น
 Stele   :  ประกอบด้วย Pericycle ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ถัดจาก Endodermis สามารถเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญแล้วแบ่งเซลล์เป็นรากยื่นออกมา ซึ่งในเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ส่วนที่สร้างออกมาจาก Pericycle เรียก รากแขนง (Lateral root) ซึ่งมีโครงสร้างต่าง ๆ เหมือนรากแก้ว   และมีมัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) อยู่ตรงกลาง Stele ซึ่งในพืชใบเลี้ยงคู่จะมี Xylem เป็นแฉก ๆ และมี Phloem อยู่ระหว่างแฉก 


 โครงสร้างลักษณะภายในลำต้น


 Epidermis   :  เป็นเซลล์เดียวเรียงชิดติดกันอยูชั้นนอกของลำต้น

 Cortex   :  ประกอบด้วย Parenchyma และมักมี Collenchyma อยู่ติดกับ Epidermis

 Stele   :  ประกอบด้วย  กลุ่มท่อลำเลียง มี เนื้อเยื้อเป็น Xylem และ Phloem และมี Vascular ray เป็น Parenchyma ที่อยู่ระหว่าง Cortex และ Pith  ( pith เป็นเซลล์ชั้นสุดอยู่ใจกลางลำต้นจะสะสมแป้งและสารต่างได้มาในบริเวณนี้)

โครงสร้างลักษณะภายในใบ


 



 - Epidermis   :  มีทั้งด้านบน (Upper epidermis) และด้านล่าง (Lower epidermis)   ประกอบด้วย เซลล์ผิว เซลล์ขน เซลล์คุม  ไม่มี Chloroplast ยกเว้น เซลล์คุม (Guard cell)จะควบคุมการคายน้ำ และแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านปากใบ (Stomata)  ในใบของดาวเรืองนี้ Lower epidermis จะมีปากใบมากกว่า Upper epidermis
-  Mesophyll   :  อยู่ระหว่าง Epidermis ทั้งสอง   เป็นเซลล์ Chlorenchyma (เซลล์Parenchyma ที่มี Chloroplast) แบ่งเป็น
              - Palisade Mesophyll   :  อยู่ด้านบนติดกับ Epidermis เป็นเซลล์ยาวเรียงเป็นแถวชั้นเดียวหรือหลายชั้น  มี Chloroplast มาก   ทำให้ใบด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง
             - Spongy Mesophyll   :  อยู่ด้านล่าง เป็นเซลล์รูปร่างไม่แน่นอน เรียงกันหลวม ๆ มีช่องอากาศมาก   มี Chloroplast น้อยกว่า Palisade Mesophyll
- Vascular bundle (มัดท่อลำเลียง)  :  ส่วนที่เรามองเห็นเป็นเส้นใบและเส้นกลางใบ   มีเซลล์ล้อมรอบ เรียก Bundle-sheath cell 





นาย สุทิน  นพพิจิตร   ม. 5.6    เลขที่ 34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น